Futures

คู่มือ Bitget USDT-M Futures

2024-11-11 10:58025

ในอุตสาหกรรมคริปโทเคอร์เรนซี การเทรด Futures โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ USDT-M Futures และ Coin-M Futures บน Bitget ผู้ใช้สามารถเทรดได้ทั้ง USDT-M Futures, Coin-M Perpetual Futures และ Delivery Futures บทความนี้จะอธิบายภาพรวมเชิงลึกของ USDT-M Futures รวมถึงอภิธานศัพท์และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง

1. ความหมายและข้อมูลพื้นฐานของ USDT-M Futures

USDT-M Futures หรือที่เรียกกันว่า Forward Futures คือ Futures ที่ชำระราคาเป็น USDT ตัวอย่างได้แก่ BTCUSDT และ ETHUSDT ซึ่งนักลงทุนใช้ USDT ในการฝากเข้าบัญชี Futures ของตน ระบบจะชำระราคากำไรหรือขาดทุนเป็น USDT ไม่ว่าผู้ใช้จะเปิด Long หรือ Short กับสินทรัพย์คริปโตก็ตาม Futures ประเภทนี้เรียกอีกอย่างว่า Perpetual Futures ซึ่งช่วยให้นักลงทุนสามารถถือ Position ได้ไม่จำกัดเวลา

สัญญา Futures แต่ละรายการจะระบุสกุลเงินหลักซึ่งจะกำหนดปริมาณการส่งมอบ ตัวอย่างเช่น สัญญา BTCUSDT Futures ซึ่งมี BTC เป็นสกุลเงินหลัก แสดงถึง 1 หน่วยของ Bitcoin ซึ่งคล้ายกับหน่วยการเทรดในตลาด Spot USDT-M Futures ใช้ราคาดัชนี ซึ่งโดยทั่วไปได้มาจากราคา Spot ของสินทรัพย์ในรูปของ USDT ราคาดัชนีมีความสำคัญต่อการกำหนดราคาสัญญา Futures และการประเมินสภาวะตลาด

2. พารามิเตอร์การเทรด

เมื่อทำการเทรด Bitget USDT-M Futures นักลงทุนควรพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้:

1. เลเวอเรจ

Bitget นำเสนอตัวเลือกเลเวอเรจหลากหลาย โดยทั่วไปตั้งแต่ 5x, 10x, 20x, 50x ถึง 100x โดยขึ้นอยู่กับคริปโทเคอร์เรนซี ตัวอย่างเช่น BTCUSDT USDT-M Perpetual Futures ของ Bitget ให้เลเวอเรจระหว่าง 1x ถึง 125x

นักลงทุนควรเลือกระดับเลเวอเรจอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และกลยุทธ์การเทรด การใช้เลเวอเรจที่สูงขึ้นอาจนำไปสู่ผลตอบแทนที่มากขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยงอย่างมากเช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการขาดทุนอย่างรวดเร็วหรือ Liquidation (การบังคับขาย) ระหว่างที่ตลาดมีความผันผวนเป็นอย่างมาก

2. Margin:

ก่อนทำการเทรด นักลงทุนจะต้องฝาก USDT ในจำนวนที่กำหนดเข้าในบัญชี Futures เป็น Margin เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรม จำนวน Margin ขึ้นอยู่กับเลเวอเรจที่เลือก ขนาด Position และสภาวะตลาดปัจจุบัน

Bitget คำนวณ Margin ที่ต้องการโดยอิงจากอัตราส่วน Margin ที่ตั้งไว้ เช่น หากนักลงทุนต้องการเทรด Margin ด้วย 10 Bitcoin และเลือกเลเวอเรจ 10x ก็จะต้องจัดเตรียมเพียง 1 Bitcoin เป็น Margin เพื่อเทรดที่สเกลของ 10 Bitcoin

3. ค่าธรรมเนียมธุรกรรม:

ระบบจะใช้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมกับธุรกรรม USDT-M Futures แต่ละรายการและจะต้องชำระให้กับแพลตฟอร์มเทรด โดยทั่วไปจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับทั้ง Position ที่เปิดและปิดอยู่ แพลตฟอร์มบางแห่งอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการถือข้ามคืนหากมีการเปิด Position ไว้ข้ามคืน

ค่าธรรมเนียมธุรกรรมของ Bitget แตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับระดับ VIP ของผู้ใช้ คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

3. ข้อกำหนดของ Futures

USDT-M Perpetual Futures ไม่มีวันหมดอายุ ช่วยให้นักลงทุนถือ Position ได้โดยไม่จำกัดเวลา เว้นเสียแต่ว่านักลงทุนจะปิด Position ด้วยตนเองหรือเผชิญกับ Liquidation (การบังคับขาย) เนื่องจาก Margin ไม่เพียงพอ

สัญญาเหล่านี้ยังต้องเสียค่าธรรมเนียม Funding ซึ่งจะต้องชำระให้กับนักลงทุนในทุกๆ 8 ชั่วโมง ที่ Bitget การชำระราคาค่าธรรมเนียม Funding จะเกิดขึ้นในเวลา 23:00 น. 07:00 น. และ 15:00 น. (เวลาไทย) อัตราค่าธรรมเนียม Funding คำนวณจากหลายปัจจัย รวมถึง Spread ระหว่างราคา Futures และราคาดัชนี รวมไปถึงอัตราส่วนของ Long/Short Position สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดตรวจสอบตารางค่าธรรมเนียม Bitget การนับถอยหลัง (Countdown) จะแสดงเวลาที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการปรับ Funding Rate ครั้งถัดไป

4. กฏของ Order

1. ขีดจำกัดมูลค่าของสัญญาขั้นต่ำ: แต่ละ Order จะต้องเป็นไปตามขีดจำกัดมูลค่าของสัญญาขั้นต่ำที่กำหนดโดยแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน ที่ Bitget จำนวนขั้นต่ำคือ 5 USDT ต่อ 1 Order Order ที่มีมูลค่าของสัญญาต่ำกว่าเกณฑ์นี้จะถูกปฏิเสธ

ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้เปิด 0.001 BTC Position ที่มีมูลค่ามากกว่า 5 USDT ตามราคาตลาดปัจจุบัน ระบบจะดำเนินการต่อ อย่างไรก็ตาม Order จำนวน 0.001 BGB ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 5 USDT จะถูกปฏิเสธ

2. ขนาด Order สูงสุด: Bitget กำหนดขนาด Order สูงสุดโดยอิงตามคริปโทเคอร์เรนซีและสภาวะตลาดเพื่อป้องกันผลกระทบต่อตลาดที่มากเกินไปจากปริมาณการเทรดจำนวนมากและเพื่อจัดการความเสี่ยงของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ขนาด Order สูงสุดสำหรับ BTC/USDT Futures อาจอยู่ที่ 100 BTC ในขณะที่สำหรับ ETH/USDT Futures อาจอยู่ที่ 2,000 ETH

3. Reduce-Only Order: Order เหล่านี้ได้รับการยกเว้นจากขีดจำกัดขนาดของสัญญาขั้นต่ำและกฎเกณฑ์อื่นๆ โดยมีไว้สำหรับสถานการณ์ที่ผู้ใช้ต้องการปิด Position บางส่วน แทนที่จะออกทั้งหมด เนื่องจากสภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย

5. กลไกการควบคุมความเสี่ยงและ Liquidation (การบังคับขาย)

1. การคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยง: Bitget คำนวณอัตราส่วนความเสี่ยงของผู้ใช้โดยอิงจากปัจจัยต่างๆ เช่น Margin, มูลค่า Position และสภาวะตลาดปัจจุบัน ระบบจะคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยงซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยงที่สำคัญของบัญชี ดังนี้: อัตราส่วนความเสี่ยง = (Margin + Unrealized PNL) ÷ มูลค่า Position × 100%

2. การแจ้งเตือน Liquidation (การบังคับขาย): เมื่ออัตราความเสี่ยงของผู้ใช้ลดลงถึงระดับหนึ่ง Bitget จะส่งการแจ้งเตือน Liquidation (การบังคับขาย) เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้เพิ่ม Margin หรือปรับ Position ของตน

3. Liquidation (การบังคับขาย): หากไม่มีการดำเนินการใดๆ ภายหลังการแจ้งเตือน และอัตราส่วนความเสี่ยงลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ Liquidation (การบังคับขาย) ที่ตั้งไว้ล่วงหน้าของแพลตฟอร์ม ระบบ Liquidation จะถูกทริกเกอร์ แพลตฟอร์มจะปิด Position ของผู้ใช้ในราคาตลาดที่ดีที่สุดเพื่อลดการขาดทุนและผลกระทบต่อตลาด เกณฑ์ Liquidation (การบังคับขาย) โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 20% ถึง 50%

6. คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงและการศึกษา

เนื่องจาก Bitget เป็นผู้นำในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโต จึงมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้แก่ผู้ใช้และจัดเตรียมบทช่วยสอนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยมีส่วนการศึกษาความเสี่ยงโดยเฉพาะสำหรับ USDT-M Futures เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจกฎการเทรด ลักษณะความเสี่ยง และกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง นอกจากนี้ Bitget ยังเผยแพร่บทความด้านการศึกษาและจัดเซสชันการฝึกอบรมออนไลน์เป็นประจำเพื่อสนับสนุนผู้ใช้เพิ่มเติม

7. สถานการณ์พิเศษ:

1. สภาวะตลาดที่รุนแรง: ในช่วงสภาวะตลาดที่รุนแรง เช่น ราคาผันผวนอย่างรุนแรงหรือขาดสภาพคล่อง แพลตฟอร์มอาจปรับระดับเลเวอเรจชั่วคราว เพิ่มข้อกำหนด Margin หรือจำกัดการเทรดเพื่อลดความเสี่ยงด้านตลาดและปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุน ผู้ใช้ควรติดตามข้อมูลอัปเดตโดยการติดตามประกาศของแพลตฟอร์มเกี่ยวกับมาตรการชั่วคราวเหล่านี้

2. ปัญหาของระบบและปัญหาทางเทคนิค: หากปัญหาทางเทคนิค เช่น ความล้มเหลวของระบบหรือการหยุดชะงักของเครือข่าย ทำให้ไม่สามารถดำเนินการการเทรดปกติได้ Bitget จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทันที และอาจเสนอการชดเชยให้กับผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม ผู้ใช้ที่ประสบปัญหาเหล่านี้ควรติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าเพื่อขอความช่วยเหลือและวิธีแก้ปัญหา